ฉีดฟิลเลอร์ใต้ตาแล้วเป็นก้อน
ฉีดฟิลเลอร์ใต้ตาแล้วเป็นก้อน บวม ไม่สวย รู้สึกกังวลใจ แก้ไขอย่างไรดี ?
สำหรับสาเหตุที่ทำให้ฉีดฟิลเลอร์ใต้ตาแล้วเป็นก้อน สามารถเกิดได้จาก 5 สาเหตุ ทั้งจากเนื้อฟิลเลอร์,เทคนิคการฉีด หรือลักษณะผิวของคนไข้เองครับ ในบทความนี้หมอจะอธิบายถึงสาเหตุแต่ละข้อ และวิธีแก้ไขฟิลเลอร์ใต้ตาเป็นก้อน เพื่อให้ผิวใต้ตากลับมาเรียบเนียนเหมือนเดิมครับ
สาเหตุที่ทำให้ฉีดฟิลเลอร์ใต้ตาแล้วเป็นก้อน
บทความแนะนำ
ฟิลเลอร์ใต้ตา2. ฟิลเลอร์ที่ใช้ไม่เหมาะกับผิว
ปัจจุบันฟิลเลอร์มีหลายรุ่น ที่จะแบ่งออกตามลักษณะเนื้อที่แตกต่างกัน คือ เนื้อละเอียด เนื้อนิ่ม และเนื้อแข็ง ซึ่งฟิลเลอร์แต่ละประเภท แต่ละยี่ห้อ จะมีคุณสมบัติเฉพาะที่เหมาะกับการฉีดในผิวที่ต่างกัน ดังนั้นการแก้ปัญหาใต้ตา ทั้งร่องลึก ริ้วรอย ถุงใต้ตา ขอบตาคล้ำ และร่องน้ำตา แพทย์จะต้องประเมินปัญหาและสภาพผิวของคนไข้ และเลือกใช้ฟิลเลอร์ให้เหมาะสมกับปัญหาใบหน้าครับ
ในกรณีที่ฉีดฟิลเลอร์ใต้ตาแล้วเป็นก้อน อาจเกิดจากแพทย์ใช้ฟิลเลอร์เนื้อแข็ง ฉีดในผิวชั้นบน ซึ่งโดยปกติแล้วในบริเวณที่มีการขยับของผิวบ่อย ๆ หรือบริเวณที่ผิวบาง จะแนะนำให้ใช้ฟิลเลอร์เนื้อละเอียดครับ
นอกจากมีปัญหาใต้ตาลึกมาก ก็จะแนะนำฟิลเลอร์ที่เนื้อมีความคงตัวมากขึ้น เพื่อฉีดหนุนในชั้นกระดูก ก็จะได้ผลลัพธ์ที่ดูเป็นธรรมชาติ ไม่เป็นก้อน
อ่านบทความเพิ่มเติม : ฉีดฟิลเลอร์ยี่ห้อไหนดี ? ใต้ตา ปาก ร่องแก้ม คาง ควรเลือกใช้รุ่นไหนดีที่สุด
3. ฉีดฟิลเลอร์ในปริมาณที่มากเกินไป
หากแพทย์ฉีดด้วยเทคนิคที่ถูกต้องและเลือกฟิลเลอร์ที่เหมาะสมแล้ว อาจเกิดจากการใช้ปริมาณฟิลเลอร์มากเกินไปได้ครับ แพทย์ที่มีประสบการณ์ จะค่อย ๆ ฉีดเนื้อฟิลเลอร์เข้าไป แล้วปรับแต่งให้เรียบเนียน ไม่ได้ฉีดไปทีเดียวเยอะ ๆ เพราะจะทำให้ฟิลเลอร์กองกันเป็นจุดได้ โดยเฉพาะใต้ตาที่ผิวบาง ก็จะยิ่งเห็นได้ชัดครับ
4. ฉีดฟิลเลอร์ปลอม
แม้ในปัจจุบันจะมีข่าวการใช้ฟิลเลอร์ปลอมน้อยลง แต่ก็ยังไม่ได้หายไปทั้งหมด โดยเฉพาะในช่วงที่ฟิลเลอร์ได้รับความนิยมมากขึ้น อาจทำให้มีมิจฉาชีพฉวยโอกาสหลอกฉีดฟิลเลอร์ในราคาถูก โดยใช้ฟิลเลอร์ปลอม เช่น ซิลิโคนเหลว ไบโอพลาสติก พาราฟิน ซึ่งฉีดไปแล้วจะอยู่ได้ถาวร ไม่สลาย นาน ๆ ไปจะเป็นก้อนแข็ง หรือมีผลข้างเคียงที่อันตราย ทำให้บวมแดง อักเสบ หรือเกิดเนื้อตายได้ในที่สุด
อ่านบทความเพิ่มเติม : ฟิลเลอร์ปลอม คืออะไร ? อันตรายแค่ไหน ? และข้อควรระวังก่อนฉีดฟิลเลอร์
5. ลักษณะผิวของคนไข้
ลักษณะผิวของคนไข้เองก็ถือเป็นปัจจัยที่ทำให้ฉีดฟิลเลอร์ใต้ตาแล้วเป็นก้อนได้ ถ้ามีผิวใต้ตาบางมาก หรือ มีกล้ามเนื้อบริเวณหัวตาแข็งแรง เมื่อฉีดฟิลเลอร์เข้าไปแล้วทำให้เกิดการดันขึ้นมาเป็นก้อน ส่วนในคนที่ผิวบางเป็นพิเศษ อาจเห็นเป็นเงาสีเขียว ซึ่งถึงแม้จะใช้ฟิลเลอร์และฉีดโดยเทคนิคที่ถูกต้อง ก็อาจเกิดปัญหานี้ได้เช่นกัน
ฉีดฟิลเลอร์ใต้ตาแล้วเป็นก้อน แก้ไขอย่างไร ?
สำหรับคนที่ฉีดฟิลเลอร์ใต้ตามาแล้วเป็นก้อน สามารถฉีดสลายฟิลเลอร์ได้โดยตัวยา Hyaluronidase:HYAL ซึ่งเป็นตัวยาสำหรับสลายฟิลเลอร์โดยเฉพาะ หลังฉีดผิวจะกลับมาเรียบเนียนเหมือนเดิม แต่ทั้งนี้จะสามารถฉีดสลายฟิลเลอร์ได้ก็ต่อเมื่อ คนไข้ฉีดฟิลเลอร์แท้ Hyaluronic Acid เท่านั้นครับ
ส่วนในกรณีที่ฉีดฟิลเลอร์ปลอมมา ไม่มีตัวยาที่ช่วยฉีดสลายได้ วิธีแก้ไขจึงต้องใช้การผ่าตัดขูดออกเท่านั้นครับ
บทความแนะนำ
การฉีดสลายฟิลเลอร์ขั้นตอนการฉีดสลายฟิลเลอร์ใต้ตา
- ก่อนฉีดสลายฟิลเลอร์ แพทย์จะประเมินปัญหาและดูลักษณะของฟิลเลอร์ ถ้าฉีดด้วยฟิลเลอร์แท้ก็สามารถฉีดสลายได้เลย ถ้ามีกล่องฟิลเลอร์ที่ฉีดมาให้หมอตรวจสอบได้ก็จะดีมากครับ
- ตรวจสอบปริมาณฟิลเลอร์ใต้ตาที่ฉีดมา เพื่อทำไปใช้คำนวณปริมาณยาฉีดสลายฟิลเลอร์ที่ต้องใช้
- แพทย์จะสอบถามข้อมูล เช่น ฉีดฟิลเลอร์ใต้ตามากี่ CC ฉีดฟิลเลอร์มานานเท่าไหร่แล้ว
- เมื่อถึงขั้นตอนการฉีดสลายฟิลเลอร์ใต้ตา ก็จะมีการทำความสะอาดผิว แปะยาชา ก่อนฉีดเอนไซม์ Hyaluronidase เข้าไปบริเวณที่เป็นก้อน ตัวยาจะออกฤทธิ์ทันทีหลังฉีดไปจนถึง 48 ชั่วโมง อาจมีอาการบวมเข็มเล็กน้อย จะหายได้เองใน 7 วันครับ
- หลังฉีดจะมีการนัดติดตามผล เพื่อดูว่าบริเวณใต้ตาที่ฉีดยังมีลักษณะเป็นก้อนอยู่หรือไม่ ถ้ายังสลายไม่หมด สามารถฉีดซ้ำได้ครับ
สรุป
โดยปกติแล้วฟิลเลอร์แท้ Hyaluronic Acid จะสลายไปเองตามธรรมชาติ ระยะเวลาขึ้นอยู่กับชนิดของฟิลเลอร์แต่ละยี่ห้อ แต่ถ้าฉีดฟิลเลอร์ใต้ตามาแล้วเป็นก้อน เห็นชัด ต้องการแก้ไข สามารถฉีดยาสลายฟิลเลอร์ เพื่อช่วยละลายฟิลเลอร์ออกได้หมด 100% ครับ ช่วยทำให้ฟิลเลอร์สลายเร็วขึ้น ผิวใต้ตากลับมาเรียบเนียนเหมือนเดิม
สำหรับผู้อ่านทุกท่านที่มีข้อสงสัยเพิ่มเติม ทีมแพทย์ V Square Clinic ทุกคนยินดีให้คำปรึกษาฟรี โดยไม่มีค่าใช้จ่าย ทั้ง 28 สาขา หรือสามารถปรึกษาหมอทาง inbox facebook หรือ Line นี้ได้เลยครับ หมอตอบเองครับ